ยาพาราเซตามอล ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมี
ยาพาราเซตามอล หรือยาพารา เป็นยาที่เกือบทุกบ้านต้องมี สำหรับลดไข้ แก้ปวด
เรามาสรุปกันนะคะ ว่ายาพารา มีการกินให้ถูกวิธี กินอย่างไรดี และยาอื่นๆ ที่เป็นยาแก้ปวด ลดไข้มีอะไรบ้าง
- พาราเซตามอล (Paracetamol)หรือ อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)นิยมเรียกสั้นๆว่า ยาพารา
ขนาดที่ใช้
1.1 ผู้ใหญ่ครั้งละ 0.5 g -1 g ทุก 4–6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 4 g /วัน
1.2 เด็กคิดตามน้ำหนักตัวดังนี้
- น้ำหนักตัว ตั้งแต่ 4–6 kg ให้ยา 60 mg
- มากกว่า 6–8 kg ให้ยา 90 mg
- มากกว่า 8–12 kg ให้ยา 120 mg
- มากกว่า 12–16 kg ให้ยา 180 mg
- มากกว่า 16–24 kg ให้ยา 240 mg
โดยให้ กินยาเฉพาะเวลามีไข้ วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
2. แอสไพริน (Aspirin ) ยาเม็ด ขนาด 300 mg สำหรับลดไข้
ขนาดที่ใช้ :
ผู้ใหญ่ 300–900 mg ทุก 4–6 ชั่วโมง (ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 4 g/วัน)
เด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี ไม่แนะนำให้ใช้
3. ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้ลดไข้ได้ด้วยเช่นกัน
ขนาดที่ใช้
- ผู้ใหญ่ 200–400 mg ทุก 4–6 ชั่วโมง (ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 2400 mg/วัน )
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้คิดตามน้ำหนักตัวโดยให้ยาที่ 5–10 mg/kg/dose ทุก 6–8 ชั่วโมง(ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 40 mg/kg/วัน หรือ 400 mg/วัน)
ยาลดไข้ที่นิยมเลือกใช้เป็นตัวแรกคือพาราเซตามอล เพราะปลอดภัยกว่า ไม่กัดกระเพาะ เหมือนยาอีก 2 ตัว ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อีกทั้งโรคบางโรคเช่นไข้เลือดออก ไม่สามารถใช้ยาลดไข้ในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในการลดไข้ได้เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้นค่ะ
ยาลดไข้เป็นเพียงยาบรรเทาอาการไข้เบื้องต้นเท่านั้นนะคะ ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดไข้ ดังนั้นหากทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดลงภายใน 2–3 วัน ควรปรึกษาแพทย์ดีกว่าค่ะ
อ้างอิง
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบัน(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐